รักชนก ขอความร่วมมือผู้บริหารสถานศึกษา ยกเว้นแต่งชุดลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ลดภาระผู้ปครอง

วันที่ 20 พ.ค. 2566 น.ส.รักชนก ศรีนอก ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล โพสต์จดหมายเปิดผนึก ผ่านทางเฟซบุ๊ก รักชนก ศรีนอก – Rukchanok Srinork ความว่า จดหมายเปิดผนึกถึงผู้อำนวยการโรงเรียนในกรุงเทพมหานครเขต 28 จอมทอง บางบอน หนองแขม เรื่อง ขอความร่วมมือให้พิจารณายกเว้นการแต่งชุดลูกเสือ เนตรนารี และ ยุวกาชาด ความว่า…

ด้วยสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ และ วิชาลูกเสือ เนตรนารี และ ยุวกาชาด เป็นหนึ่งในวิชาที่ทำการเรียนการสอน อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว เงินเฟ้อยังไม่คลี่คลาย เครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี และ ยุวกาชาด ถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องแบกรับ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้น้อย

จึงใครขอให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาการแต่งกายชุดลูกเสือ เนตรนารี และ ยุวกาชาด โดยให้สวมเพียงผ้าพันคอ กับวอกเกิ้ล เพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง โดยสถานศึกษาทั้ง 3 เขต มีดังนี้…

โรงเรียนสังกัด สพม.1 –
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

1. โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม
2. โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
3. โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
4. โรงเรียนวัดราชโอรส

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตจอมทอง
1. โรงเรียนวัดไทร
2. โรงเรียนวัดสีสุก
3. โรงเรียนวัดมงคลวราราม

4. โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก
5. โรงเรียนวัดนางนอน (พิพัฒน์)
6. โรงเรียนวัดศาลาครืน
7. โรงเรียนวัดยายร่ม

8. โรงเรียนวัดนาคนิมิตร
9. โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
10. โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
11. โรงเรียนวัดบางประทุนนอก

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม
1. โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
2. โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
3. โรงเรียนประชาบำรุง

4. โรงเรียนวัดอุดมรังสี
5. โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
6. โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน
1. โรงเรียนสถานีพรมแดน
2. โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
3. โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
4. โรงเรียนบ้านนายผล

5. โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
6. โรงเรียนวัดนินสุขาราม
7. โรงเรียนบ้านนายสี
8. โรงเรียนวัดบางบอน
9. โรงเรียนคงโครัดอุทิศ

ทั้งนี้ ไอซ์ รักชนก ระบุอีกว่า… หนึ่งในนโยบายพรรคก้าวไกล ลดวิชาบังคับ ไอซ์คิดว่าหนึ่งในนั้นคือวิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ควรให้เป็นวิชาเลือกเสรี ไม่ใช่วิชาหลัก

ที่มา: รักชนก ศรีนอก – Rukchanok Srinork

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *