แห่เล่นน้ำคลายร้อน อ่างโคกก่อ ต่อคิวขึ้นแพคึกคัก คาดเงินสะพัดชุมชนนับล้าน

ณ.ที่อ่างเก็บน้ำโคกก่อ หมู่ 19 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง ใช้เวลาวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ทามกลางอุณหภูมิร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียล ต่างจูงมือพาครอบครัวมา ลงเล่นน้ำคลายร้อนที่อ่างเก็บน้ำโคกก่อกันอย่างคึกคัก ทำให้ธุรกิจชุมชนในบริเวณนี้ ไม่ว่าจะเป็นแพกลางน้ำ เรือกล้วย (Banana Boat) ร้านอาหาร ร้านเช่าห่วงยางว่ายน้ำ ส่งผลให้เงินสะพัดรวมกันนับล้านบาทต่อวัน

แม่ค้ารายหนึ่ง เล่าว่า ปกติพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำโคก่อ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและจ่ายน้ำเพื่อทำการเกษตรให้ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองและใกล้เคียง แต่เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลง จนทำให้สามารถลงไปเล่นน้ำได้ ซึ่งชาวชุมชนได้มองเห็นโอกาสจึงร่วมกันพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในช่วงหน้าแล้งหรือช่วงฤดูร้อน ทำให้ประชาชนมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจคลายร้อน และชาวบ้านมีที่ค้าขายอาหารและบริการ ทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นอีกด้วย

ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำโคกก่อ บริเวณนี้ ก่อนสงกรานต์จะมีแพลอยน้ำของชาวบ้านให้บริการจำนวนกว่า 80 แพ แต่ช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ได้มีชาวบ้านในชุนชุนต่อแพเพิ่มขึ้นอีกรวมแล้วมากกว่า 100 แพ ซึ่งตนเองได้ประกอบขึ้นมาให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 10 แพ ลงทุนสร้างแพประมาณแพละ 7000-8000 บาท โดยคิดให้ลูกค้ามาเช่าแพในราคาชั่วโมงละ 150 – 200 บาท

ส่วนห่วงยางให้เช่าเล่นครั้งละ 50 บาท พร้อมทั้งขายอาหารและเครื่องดื่มในราคามิตรภาพ ลูกค้าสามารถสั่งอาหารที่ซุ้มแล้วใช้เวลาไม่นานก็จะมีเด็กเสิร์ฟไปบริการส่งถึงแพ ซึ่งจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงนี้ จนล่าสุดช่วงกลางวันจะสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ทำให้แต่ละวันมีคนมาเที่ยวที่นี่ จนทำให้การจราจรบนสันอ่างเก็บน้ำรถติดเลยทีเดียว

ส่วนรายได้แต่ละวันต้องบอกว่าดีมาก เพราะช่วงเทศกาลแบบนี้ ประชาชนต่างอยากให้เวลาแห่ความสุขกับครอบครัว จึงมาจองแพลงเล่นน้ำกันตั้งแต่ช่วงเช้า และผู้คนจะหนาแน่นกันตั้งแต่ช่วงเที่ยงจนถึงเย็น แพที่จอดให้บริการแทบไม่ว่าง เพราะคนรอต่อคิวลงไปตลอด

ซึ่งตนให้บริการทั้งแพและร้านอาหาร จะมีรายได้รวมกันต่อวันประมาณ 20,000 บาท และคาดว่าจะมีประชาชนมาจับจ่ายใช้เงินที่อ่างเก็บน้ำโคกก่อ ต่อวันไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท และรวมทั้งช่วงเทศกาลสงกรานต์ ต้องมีเงินสะพัดในพื้นที่ของหมู่บ้านนับล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ช่วยหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจชุมชน หลังจากที่ซบเซามานานเพราะพิษโควิด-19

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *