กรณีทางการแพทย์อันน่าตกใจ รายงาน ชายนิรนามวัย 64 ปีจากรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาไปพบแพทย์ หลังจากสังเกตตัวเองมา 2 สัปดาห์ว่า ลิ้นของตนเองเริ่มเปลี่ยนสีและมีขนขึ้น หลังจากไปพบพบแพทย์ กินยาปฏิชีวนะ clindamycin สำหรับการติดเชื้อที่เหงือก อาการที่ค่อนข้างแปลกประหลาดและอวัยวะรับรสสีเขียวของชายคนนี้ได้รับการรายงานในกรณีการศึกษาจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine)
ซึ่งมีรายงานว่า ชายสูบบุหรี่เป็นประจำ อาจมีความเป็นไปได้ว่าใช้ยาปฏิชีวนะ หลังสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดบางอย่างในการศึกษายังคงคลุมเครือ โดยยังไม่ชัดเจนว่าชายคนนี้สูบบุหรี่มานานแค่ไหนและสูบบ่อยแค่ไหน รวมทั้งผู้เขียนไม่ได้ระบุว่าภาวะนี้เกิดจากการสูบบุหรี่ ยาปฏิชีวนะ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับสุขภาพช่องปาก
รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบุหรี่สามารถทำให้เกิดคราบพลัคและแบคทีเรียได้ ยาปฏิชีวนะยังสามารถส่งผลกระทบต่อไมโครไบโอมในปาก เปลี่ยนแปลงแบคทีเรียและปล่อยให้สะสมบนลิ้น แพทย์วินิจฉัยว่า ชายมีขนที่ลิ้นได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการที่เรียกว่า ลิ้นมีขน มีลักษณะเป็นการเคลือบผิวที่ผิดปกติของเซลล์ผิวหนังที่ก่อตัวขึ้นบนลิ้น
ภาวะนี้เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วบนตุ่มรูปกรวย เรียกว่า ปาปิลา (papilla) ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ ที่มีต่อมรับรสขยายใหญ่ขึ้นพร้อมเปลี่ยนสีเนื่องจากการสะสมของเศษซากและแบคทีเรีย หากขาดการกระตุ้นหรือการเสียดสีที่ด้านบนของลิ้น การสะสมของเคราตินก็สามารถเกิดขึ้นได้
ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกับที่สร้างเส้นผมบนศีรษะ ทำให้สิ่งที่ดูเหมือนขนอาจยาวได้เกือบหนึ่งนิ้วหากไม่ได้ขูดลิ้นเป็นประจำ เป็นเหตุให้แบคทีเรียและยีสต์อาจติดอยู่ในปาปิลา ส่งผลให้ลิ้นมีสีค่อนข้างแปลกประหลาด ขนที่ลิ้นอาจปรากฏเป็นสีน้ำตาลขาว,สีเขียว, สีเหลือง หรือสีชมพู ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงและปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะขาดน้ำ, สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี, ยาปฏิชีวนะ, น้ำยาบ้วนปาก หรือแม้แต่ลูกอม
โดยทั่วไปมีสาเหตุมาจากสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่มักส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี (และพบได้บ่อยในผู้ชาย) อาจรุนแรงขึ้นได้จากการสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้แบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์สะสมบนลิ้น แต่โชคดีที่อาการชั่วคราวนี้โดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย โดยอาการที่เลวร้ายที่สุดคือความรู้สึกแสบร้อนที่ลิ้น รวมถึงผู้ป่วยสามารถโกนคราบในช่องปากนี้ได้โดยใช้แปรงสีฟันหรือที่ขูดลิ้นขัดออกด้วยแปรงสีฟันเบา ๆ 4 ครั้งต่อวัน