วันที่ 30 เม.ย. 2566 ณ.บริเวณลานธรรม วัดในเขา ต.บ้าหวี อ.หาดสำราญ จ.ตรัง พระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) เจ้าอาวาสวัดฯ และยังเป็นเจ้าคณะ ต.ท่าพญา และเลขาฯ เจ้าคณะอำเภอปะเหลียน นายถนอม ชิตแก้ว ประธานคณะกรรมการวัดฯ และเป็นอดีตกำนันตำบลบ้าหวี พร้อมด้วย ชาวบ้านในชุมชน ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปพระพุทธรตนโชติ (หลวงพ่อแก้ว) อายุเก่าแก่ประมาณ 46 ปี
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของชุมชน ที่ถูกทิ้งไว้ภายในสวนยางพาราของเช้าบ้านซึ่งอยู่ติดกับป่าช้าของวัดมาประดิษฐานภายในวัด ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. 2566 ซึ่งตรงกับวันพระ มีบรรดาญาติโยมได้เข้ามากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย โดยจะจัดตั้งไว้จนถึงวันที่ 10 พ.ค. ก่อนนำไปบูรณะซ่อมแซมให้กลับมาสมบูรณ์
หลังจากที่ พระมหารัตนากร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้พบเจอพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว จึงอธิษฐานว่าถ้าพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวอยากจะมาประดิษฐานอยู่ภายในวัด ขอให้ดลจิตใจให้มีญาติโยมนำกลับมาบูรณะ จากนั้นไม่นานเพียงแค่ 7 วัน มีญาติโยมเข้ามาถวายสังฆทาน แล้วอยู่ๆ ญาติโยมก็พูดว่าถ้ามีพระพุทธรูปอยากให้สร้างหรือซ่อม โยมมีลูกชายเป็นช่างปั้น ให้พระมหารัตนากร แจ้งความประสงค์ได้เลย
ทำให้พระมหารัตนากร ก็ได้เอ่ยปากว่าได้อธิษฐานไปเมื่อ 7 วันก่อนเอง จึงได้บูรณะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวจริง ๆ หลังจากนั้นจึงได้นิมนต์พระพุทธรูปดังกล่าวมาประดิษฐานไว้ที่วัด พร้อมทั้งทางญาติโยมก็ได้มารับเป็นเจ้าภาพบูรณะในเวลาเดียวกัน พระมหารัตนากร กล่าวต่อว่า… ในช่วงที่ทำสวนอยู่นั้น ในยามว่าง ทิดเหียน ซึ่งมีพรสวรรค์ในการปั้น จึงได้ออกแบบปั้นพระพุทธรูป ด้วยปูนซิเมนต์ ตามแบบแนวคิด ชื่อพระพุทธรตนโชติ (หลวงพ่อแก้ว)
ทำการปั้นด้วยมืออยู่ในสวนยางพารา สร้างจนแล้วเสร็จจำนวน 2 องค์ ต่อมาได้ขายที่ดินสวนยางพาราดังกล่าวให้กับคนในพื้นที่ แล้วกลับไปอยู่บ้านเกิด และเสียชีวิตภายหลัง โดยเจ้าของที่ใหม่ก็ไม่ได้ทำลายพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งที่ได้ล้มยางพาราแล้วปลูกใหม่ทดแทนไปแล้ว
อีกไม่นานได้มีชาวบ้าน ในพื้นที่ ต.แหลมสอม อ.ปะเหลียน ได้ฝันว่ามีพระพุทธรูปอยู่ข้างป่าช้า ใน ต.บ้าหวี จำนวน 2 องค์ จึงเดินทางไปตรวจสอบและพิสูจน์ตามฝัน ผลปรากฏว่ามีจริง ๆ จึงอัญเชิญ องค์เล็กไปบูชาที่วัดโคกมะขาม หรือวัดหาดเลา เพียงองค์เดียว จนเป็นที่เคารพบูชามาจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งองค์ ยังปล่อยทิ้งอยู่ในสวนยางพารา
ขณะที่ นายถนอม ชิตแก้ว ประธานคณะกรรมการวัดในเขา และเป็นอดีตกำนันตำบลบ้าหวี กล่าวว่า ทิดเหียน เป็นคนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงหล่อปั้นพระพุทธรูป โดยปั้นด้วยมือของตนเอง จำนวน 2 รูป ในลักษณะเดียวกันแต่ขนาดต่างกัน ขณะเดียวกันเวลาผ่านมาท่านพระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) ได้ไปสำรวจบริเวณป่าช้าดังกล่าว
ท่านก็ได้บอกพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ถ้าท่านจะกลับวัดให้หาช่างปั้นรูปตกแต่งให้สวยงามมารับบูรณะ ในขณะนั้นเวลาถัดมาได้มีเจ้าภาพแสดงความประสงค์รับเป็นเจ้าภาพทางพระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) จึงได้นิมนต์กลับวัด หลังจากที่พระพุทธรูปดังกล่าวได้ถูกนำมาบูรณะและประดิษฐานภายในวัด
ซึ่งก็ได้มีบรรดาญาติโยมและสาธุชนแห่กันเข้ามาจุดธูป เทียน นำดอกไม้ ไปวางยังหน้าพระพุทธรูปทันที และต่างขอพร ขอโชคลาภ โดยที่ส่วนใหญ่ต่างนำเอาอายุของพระพุทธรูปคือ 46 ปี และวันที่ในการนำพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมาประดิษฐานคือวันที่ 27 ตรงกับ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 และบางรายถึงกับเห็นเลข 460 ซึ่งต่างก็นำไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล