เสร็จสิ้นภารกิจ หลวงตาบุญชื่น เดินธุดงค์เท้าเปล่า ถึง จ.นครพนม แล้ว

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ที่บริเวณที่พักสงฆ์กลางทุ่งบ้านเสาเล้าใหญ่ ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม หลังทราบข่าวการเสร็จสิ้นภารกิจธุดงค์ของหลวงตาบุญชื่น จึงได้ขอกราบนมัสการ เพื่อสัมภาษณ์จากการเสร็จสิ้นธุดงค์ที่ผ่านมา สำหรับที่พักสงฆ์กลางทุ่งของหลวงตาบุญชื่น พบว่าถูกสร้างเป็นอาคารเล็กๆ 2 หลัง

โดยอาคารหลังแรกขนาดพื้นที่กว้างประมาณ 10 เมตร ยาว 18 เมตร หลังคามุงด้วยแผ่นอลูซิงค์ สร้างขึ้นโดยบรรดาเหล่าศิษย์ยานุศิษย์เพื่อใช้เป็นพื้นที่ฟังเทศน์ฟังธรรมและทำวัตร มีแสงสว่างจากไฟฟ้าของแผงโซลาเซลล์ส่วนอีกหลังหนึ่งเป็นกุฏิของหลวงตา คุณแม่นาง อุ่นเทียมโสม อายุ 58 ปี ชาวบ้านหนองบัวแดง ต.นาหัวบ่อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม เปิดเผยว่า…

ตน กับสามี ปรวรนาเป็นโยมอุปฐาก หลวงตาเคยตามธุดงค์ไปกับหลวงตาพร้อมด้วย นายสุริยา สามี เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา แต่เดิมหลวงตาไม่ต้องการให้สถานที่พักสงฆ์แห่งนี้ มีไฟฟ้าและแสงสว่างในขณะปฏิบัติธรรมด้วยเกรงว่าจะมีมดแมลงบินเข้ามาและเกิดอันตรายต่อผู้ที่มาปฏิบัติธรรมรวมถึงแมลงที่บินมาด้วย

แต่ด้วยโยมที่มาปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ต้องพบกับอุปสรรคจากการอ่านหนังสือสวดมนต์และเดินเหินเข้าห้องน้ำ อาจประสบต่ออุบัติเหตุได้ง่าย จึงได้อนุโลมให้ตามสมควรที่จำเป็นจริงๆ นายสุริยา หรือก้อง ศิษย์ก้นกุฏิหลวงตาบุญชื่น วัย 61 ปี กล่าวว่า สำหรับเหตุที่หลวงตาบุญชื่น เลือกวิธีเจริญภาวนาด้วยการธุดงค์นั้น

เพราะขณะที่ท่านมาบวช ก็มีอายุมากแล้ว ครั้นจะเข้าไปศึกษาพระธรรมจากโรงเรียนปริยัติธรรมก็เกรงว่าจะเป็นภาระและอุปสรรคต่อพระอาจารย์ อีกอย่างที่ผ่านมา ตนก็เป็นคนที่เรียนหนังสือหัวไม่ค่อยจะดีสักเท่าไร เกรงจะเป็นภาระคนอื่น

สำหรับโครงการ หรือแผนเดินธุดงค์ครั้งถัดไปจะมีเริ่มอีกครั้งเมื่อไรนั้น หลวงตาบุญชื่น กล่าวว่า เรื่องแบบนี้จะบอกก่อนกันไม่ได้หรอก เราต้องมองที่สังขารว่ามีความพร้อมเพียงใด

ขณะเดียวกันพบว่าขณะนี้ หลวงตามีอาการอาพาธจากกระดูกยุบบริเวณต้นคอ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางแพทย์ได้เคยตรวจมวลกระดูกเบื้องต้นพบว่า มีความความหนาแน่นราวกับคนอายุ 50 ปี ทั้งที่อายุหลวงตาขณะนี้ 70 ปีแล้ว แต่ด้วยการเดินธุดงค์อย่างต่อเนื่องจนไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้ข้อกระดูกบริเวณต้นคออักเสบ ซึ่งต่อจากนี้หลังเสร็จสิ้นภารกิจธุดงค์แล้ว ทางทีมแพทย์ของ รพ.โพนสวรรค์ จะนิมนต์หลวงตา เข้าบำบัดและรักษาอาการดังกล่าว

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *