สาวใหญ่ ทนไม่ไหว หอบเอกสาร เปิดความจริงโครงการหรู หลังทนอยู่มา 30 ปี

วันที่ 14 พ.ย. 2565 นางราตรี อายุ 47 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว อาศัยอยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง คลอง10 (ธัญบุรี) ม.3 ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ได้ร้องเรียนสื่อมวลชนพร้อมนำเอกสารออกมาแสดงและกล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนในหมู่บ้านดังกล่าว คลอง 10 (ธัญบุรี) โดยมี บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นบริษัทเจ้าของโครงการซึ่งถูกคำพิพากษาของศาลให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

คดีหมายเลขแดงที่ ล.1089/2556 จนทำให้ประชาชนที่เช่าซื้อได้รับความเดือดร้อนมายังยาวนานทั้งเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ประชาชนผู้เช่าซื้อ รวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณประโยชน์ของโครงการหมู่ที่ปล่อยทิ้งไว้บ้านเกือบ 30 ปีโดยไม่สามารถยกเป็นที่สาธารณะให้แก่หน่วยงานในท้องถิ่นได้เข้ามาดูแลและปรับปรุงตามที่มีข่าวที่ผ่านมานั้น

นางราตรี กล่าวว่า เมื่อประมาณเดือน ก.ค. 2547 โดยการขายบ้านเก่าอีกโครงการหนึ่งมาซื้อแห่งนี้เพราะครอบครัวตนเป็นครอบครัวใหญ่มีทั้งหมด 5 คนรวมลูกในท้องอีก 1 คน เนื้อที่ 50 ตรว. ซึ่งไม่แพงเพราะมีทั้งสระว่ายน้ำและสถานที่ออกกำลังกายต่างๆ ในโครงการหมู่บ้าน ตอนนั้นตนและสามีไม่สามารถไปกู้ธนาคารได้เนื่องจากติดแบล็คลิส

แต่สำหรับโครงการนี้เราสามารถผ่อนเงินสดกับโครงการได้เลย ตนและสามีจึงได้ตัดสินใจซื้อบ้านกับโครงการหมู่บ้านแห่งนี้โดยการขายบ้านอีกหลังจากโครงการอื่นที่อยู่เดิมมาและนำเงินมาวางดาวน์ไป 100,000 บาท จากนั้นมีการผ่อนส่ง 15,000 บาท จนครบ 6 เดือน จากนั้นมีการให้ผ่อนส่งเดือนละ 13,812 บาทเรื่อยมาหลายปีจนเกือบบหมด ช่วงหนึ่งตนต้องการใช้เงินจึงจะนำบ้านหลังดังกล่าวที่ผ่อนไปเข้าติดต่อยื่นกู้กับธนคารเพื่อนำเงินออกมาใช้จ่าย

แต่ทางธนาคารแจ้งกลับมาว่าต้องให้ไปตนแบ่งแยกโฉนดมาก่อนจึงสามารถยื่นกู้ได้เพราะเป็นบ้านแฝด ตนจึงไปขอให้โครงการแบ่งแยกโฉนดบ้านหลังดังกล่าวแต่แล้วโครงการไม่ยินยอมดำเนินการให้ตนจึงไม่สามารถยื่นกู้กับธนาคารได้ อีกอย่างตอนซื้อนั้น ตนก็ไม่ได้สังเกตว่าเป็นบ้านแฝดติดกัน พอเรื่องนี้เริ่มแดงขึ้นมาตนจึงเข้าไปได้แจ้งกับโครงการว่าจะไม่ผ่อนต่อกับโครงการแล้ว

ต่อมาโครงการได้มาขู่กับตนว่าถ้าไม่ผ่อนกับโครงการต่อก็ต้องย้ายออกจากบ้านหลังนี้เพราะถือว่าเป็นการผิดสัญญา จากนั้นจึงมองหาซื้อบ้านหลังใหม่ที่อยู่โครงการเดียวกันแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ซื้อแล้ว บังเอิญมีบ้านหลังหนึ่งในโครงการซึ่งอยู่ซอย 9 เจ้าของเดิมไม่อยากอาศัยในโครงการนี้ต่อเพราะเรื่องระบบสาธารณูปโภคที่เป็นอยู่จึงขายให้ตนในราคาที่ถูกจึงซื้อย้ายเข้าอาศัยเพื่ออยู่อาศัยกับลูกๆ ในเดือน ส.ค.2550 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

อีกประการหนึ่งที่ตัดสินใจย้ายบ้านเพราะสามีไปทำงานอยู่ต่างประเทศและตนดูแลลูกทั้ง 3 คนเพียงลำพัง ขณะเดียวกันก็เดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ธัญบุรี ประสงค์จะแจ้งความแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบกับมาว่าคุณรู้ได้อย่างไรว่าทางโครงการจะไม่โอนให้ในเมื่อผ่อนหมดแล้วและทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ได้ลงบันทึกประจำวันหรือดำเนินการอะไรเลย จึงเดินทางไปติดต่อสอบถามที่กรมบังคับคดี และ สคบ.

ปรากฏว่าตนเป็นรายที่ 4 ที่โดนหลอกให้ผ่อนซื้อบ้านหลังนี้ซึ่งไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้และโครงการหมู่บ้านแห่งนี้มีคดีเยอะมากโดนฟ้องล้มละลาย ส่วนความเป็นอยู่ของตนและประชาชนในชุมชนครั้งนั้น คือการต้องให้ไฟฟ้าที่โครงการจำหน่ายไฟฟ้าเองซึ่งมีราคาที่แพงตนจ่ายต่อเดือนเดือนละประมาณ 3,000 บาท ไฟตกบ่อยแม้แต่จะหุงข้าวตอนเย็นแต่ละทีต้องหุงตั้งแต่บ่าย 3 โมงไม่งั้นข้าวที่หุงไว้ไม่สุกเพราะไฟฟ้าไม่ไม่พอต่อการใช้ของคนในชุมชน

ส่วนน้ำประปาบาดาลโครงการก็จำหน่ายให้คนในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน ซึ่งน้ำบาดาลนั้นมีกลิ่นเหม็นมาก การจะได้น้ำประปาส่วนภูมิภาคและไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้ามาในหมู่บ้าน ต้องฟ้องร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งจึงได้ จนประธานหมู่บ้านได้หมดวาระไปหลายคนแล้ว ส่วนเรื่องถนนหลักและถนนในซอยก็เป็นเช่นที่เป็นข่าว

ที่ตนออกมาครั้งนี้เพราะไม่อยากให้ใครที่คิดจะซื้อบ้านโดนเอาเปรียบแบบตน ตนจึงอยากสอบถามไปยังหน่วยงานของกรมบังคับคดีว่าบ้านและที่ดินที่ของโครงการหมู่บ้านแห่งนี้ถูกยึดไปแล้วทางโครงการสามารถเอามาให้บุคคลภายนอกมาเช่าอาศัยจ่ายรายเดือนได้หรือไม่และผิดกฎหมายหรือไม่ ทำไมจึงปล่อยให้เขามาทำเช่นนี้ อีกอย่างทำไมไม่มีเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีเข้ามาดูแลทรัพย์สินที่ยึดไว้เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นนี้มีมาตลอดจน 30 ปี

About the author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *